เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมต้องการให้ลูกน้อยปลอดภัยทุกครั้งที่ต้องเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องนั่งรถยนต์ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา นั่นคือเหตุผลที่ทำให้คาร์ซีทกลายเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ควรมองข้าม ทางด้านภาครัฐเองก็เห็นความสำคัญของคาร์ซีทเด็กเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการออกกฎหมายคาร์ซีทบังคับให้ต้องปฏิบัติตาม บทความนี้จึงจะมาช่วยสรุปให้เข้าใจง่ายว่ารายละเอียดกฎหมายดังกล่าวเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มความอุ่นใจในการขับขี่ ติดตามได้เลย
ทำความรู้จักคาร์ซีท
คาร์ซีทไม่ใช่ที่นั่งธรรมดา ๆ ในรถยนต์ แต่เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อปกป้องเด็กเล็กจากอันตรายในกรณีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาอย่างดี รวมถึงระบบยึดเหนี่ยวพิเศษ คาร์ซีทเด็กจึงสามารถลดแรงกระแทกและป้องกันการกระเด็นออกจากที่นั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากเข็มขัดนิรภัยที่ตอบโจทย์การป้องกันสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
ข้อดีของการติดตั้งคาร์ซีทเด็ก
- ลดความเสี่ยงการบาดเจ็บรุนแรง : คาร์ซีทช่วยลดความเสี่ยงการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตของเด็กในกรณีเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่า 70%
- ป้องกันการกระเด็น : ในกรณีชนกระแทกอย่างรุนแรง คาร์ซีทจะช่วยยึดตัวเด็กไว้กับที่นั่ง ป้องกันการกระเด็นออกนอกรถ
- กระจายแรงกระแทก : โครงสร้างของคาร์ซีทเด็กออกแบบมาให้กระจายแรงกระแทกไปทั่วตัวเด็ก ลดความเสี่ยงการบาดเจ็บเฉพาะจุด
- เหมาะสมกับสรีระเด็ก : คาร์ซีทออกแบบมาให้เหมาะสมกับสรีระของเด็กในแต่ละช่วงวัย ทำให้สามารถปกป้องได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ประเภทของคาร์ซีท
เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การป้องกันได้อย่างตรงจุด คาร์ซีทจึงมีหลายประเภท แต่ละประเภทเหมาะสำหรับเด็กในช่วงอายุและน้ำหนักที่แตกต่างกัน ดังนี้
- คาร์ซีทแบบนั่งหันไปทางด้านหลังรถ : หรือที่เรียกว่า “คาร์ซีทแรกเกิด”เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 2 ปี หรือน้ำหนักไม่เกิน 13 กิโลกรัม ช่วยปกป้องศีรษะ คอ และกระดูกสันหลังของทารกได้ดีที่สุด
- คาร์ซีทแบบนั่งหันไปทางด้านหน้ารถ : เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี หรือน้ำหนัก 9-18 กิโลกรัม จุดเด่นคือมีระบบเข็มขัดนิรภัย 5 จุดที่ช่วยกระจายแรงกระแทกได้ดี
- ที่นั่งเสริมแบบไม่มีพนักพิง (Booster Seat) : พ่อแม่ควรเลือกใช้คาร์ซีทแบบนี้สำหรับเด็กโตที่มีน้ำหนักมากกว่า 22 กิโลกรัมขึ้นไป เพราะโครงสร้างที่ออกแบบมาจะช่วยยกตัวเด็กให้สูงขึ้นเพื่อให้สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยของรถได้ในตำแหน่งที่เหมาะสม
กฎหมายคาร์ซีทที่พ่อแม่ควรรู้
ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการยอมรับจากทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วว่าคาร์ซีทสามารถช่วยปกป้องเด็กจากอันตรายในการเดินทางโดยรถยนต์ได้จริง ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีการบังคับใช้กฎหมายคาร์ซีท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- กฎหมายกำหนดให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในคาร์ซีทระหว่างการโดยสารรถยนต์
- อย่างไรก็ตาม สำหรับพ่อแม่ที่ไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอในการติดตั้งคาร์ซีทเด็ก กฎหมายได้กำหนดทางเลือกไว้ 3 ข้อ ดังนี้
- ขับรถด้วยความเร็วต่ำ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและต้องขับชิดซ้าย
- ให้เด็กนั่งเบาะหลัง ยกเว้นรถกระบะหรือกึ่งกระบะที่อนุญาตให้นั่งด้านหน้าได้ แต่ห้ามนั่งท้ายกระบะเด็ดขาด
- จัดให้มีผู้ดูแลเด็กขณะเดินทาง หรือให้เด็กคาดเข็มขัดนิรภัยเฉพาะส่วนหน้าตัก
สำหรับผู้ที่ละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคาร์ซีท และข้อกำหนดข้างต้น จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ข้อควรระวังในการใช้คาร์ซีท
- ห้ามใช้คาร์ซีทมือสอง : เว้นแต่จะทราบประวัติการใช้งานอย่างแน่ชัด เพราะคาร์ซีทเด็กที่เคยผ่านอุบัติเหตุอาจมีความเสียหายที่มองไม่เห็น
- ห้ามปรับแต่งคาร์ซีท : การดัดแปลงหรือเพิ่มเติมอุปกรณ์อาจทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันลดลง
- เปลี่ยนคาร์ซีทหลังเกิดอุบัติเหตุ : แม้จะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย ก็ควรเปลี่ยนคาร์ซีทเด็กใหม่เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
- ระวังการใช้เสื้อผ้าหนา : เสื้อผ้าที่หนาเกินไปอาจทำให้สายรัดหลวม ควรถอดเสื้อคลุมหนา ๆ ออกก่อนใส่เด็กในคาร์ซีท โดยเฉพาะคาร์ซีทแรกเกิดที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด
ขับขี่อุ่นใจเมื่อมีประกันรถยนต์ SOMPO ตามใจ เป็นเพื่อนร่วมทาง
นอกจากการมีคาร์ซีทที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัดแล้ว ถ้าต้องการขับขี่รถยนต์อย่างอุ่นใจยิ่งขึ้น ปลอดภัยทั้งพ่อแม่รวมถึงเด็ก ๆ ก็ควรที่จะทำประกันรถยนต์ SOMPO ตามใจ มีให้เลือกทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถรายเดือน 2+, ประกันรถยนต์ชั้น 3 แบบรายเดือนต่อเนื่อง (Subscription) หรือถ้าคุณเป็นคนใช้รถน้อยก็สามารถซื้อแบบรายวัน เฉพาะวันที่ใช้รถได้โดยไม่มีข้อผูกมัด สามารถปรับแผนประกันและวงเงินได้ตามใจคุณ สนใจสามารถติดต่อสอบถาม หรือเลือกซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง
- เริ่มบังคับใช้แล้ว กฎหมายคาร์ซีท (Car Seat) สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 จาก https://workpointtoday.com
About The Author
บทความอื่นๆจากซมโปะ