เคยไหม กำลังขับขี่บนท้องถนนอย่างสบาย ๆ จู่ ๆ รถก็ส่าย หรือรู้สึกผิดปกติ เมื่อรีบจอดดู พบว่ายางรถรั่ว ! เหตุการณ์แบบนี้อาจสร้างความตกใจ เสียเวลา และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ขอชวนผู้ใช้รถทุกคนมารู้ถึงสาเหตุรถยนต์ยางรั่ว พร้อมวิธีสังเกตและรับมือเบื้องต้น และมาไขข้อข้องใจว่า หากรถยางแบนสามารถขับต่อได้ไหม เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน

สาเหตุหลักที่ทำให้ยางรถรั่ว

ปัญหา “รถยางรั่ว” นับเป็นเรื่องที่สร้างความหงุดหงิดและเสียเวลาให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางระหว่างวัน หรือการเดินทางไกล การเผชิญเหตุยางรถรั่วกะทันหันย่อมส่งผลกระทบต่อแผนการเดินทางและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากไม่รีบแก้ไข โดยมีสาเหตุหลักที่พบบ่อยดังนี้

  • ถูกของมีคมทิ่มตำ : ตะปู เศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคม สามารถแทงทะลุยางรถยนต์ ทำให้เกิดรอยรั่วได้ง่าย และพบได้บ่อยบนท้องถนน
  • แก้มยางเสียหายจากการขับขี่ : การขับขี่ชนขอบฟุตบาท หรือตกหลุมแรง ๆ อาจทำให้ยางเสื่อมสภาพ เกิดรอยแตกให้รถยางรั่วได้
  • ขอบยางชำรุด : บริเวณขอบยางในใต้กระทะล้อที่ทำให้ยางและกระทะล้อติดกันไม่สนิท หรืออาจมีวัตถุเล็ก ๆ เข้าไปติด เสี่ยงต่อการทำให้ยางแตกร้าวหรือรั่วซึมได้ง่าย
  • จุ๊บเติมลมยางเสื่อมสภาพ : จุ๊บเติมลมยางที่เก่าหรือเสื่อมสภาพ อาจรั่วซึม ทำให้อากาศในยางรั่วออก
  • สภาพล้อเสียรูปทรง : ล้อที่สึกกร่อนหรือได้รับแรงกระแทก ทำให้ล้อคดหรือบิดเบี้ยว สามารถเกิดการรั่วในบริเวณขอบกระทะล้อ และขอบยางชำรุด จนมีลมยางรั่วซึมออกมา
  • อุณหภูมิที่สูง : อุณหภูมิที่สูงทำให้อากาศในยางขยายตัว ส่งผลให้แรงดันภายในยางเพิ่มขึ้น

การซ่อมแซมรถยนต์ยางรั่ว

วิธีสังเกตและรับมือเบื้องต้น ปัญหารถยางรั่วซึม

รถยางรั่วซึม เป็นปัญหาที่พบเจอบ่อยในการขับขี่รถยนต์ การสังเกตอาการเบื้องต้นและการรับมืออย่างถูกวิธี จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

การสังเกตอาการรถยนต์ยางรั่ว

การสังเกตอาการยางรั่วเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของยางรถยนต์อาจบ่งบอกถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ ดังนี้

  • สังเกตการรั่วซึมของยางจากการเติมลมยาง หากเติมลมยางบ่อยผิดปกติ หรือลมยางล้อไหนอ่อนเร็วกว่าปกติ นี่คือสัญญาณที่บ่งบอกว่ารถยางรั่ว และรอการซ่อมแซมแก้ไข
  • ขณะขับขี่จะรู้สึกว่าพวงมาลัยมีอาการแปลก ๆ อาการพวงมาลัยหนักผิดปกติ มีการเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ที่ส่ง
  • ผลต่อการทรงตัวของรถ บังคับเลี้ยวยาก หรือเบรกรถยนต์แล้วเกิดอาการส่าย แปลว่ารถเสียสมดุล มีความเอียงไปทางด้านที่ยางรั่ว
  • ระหว่างขับรถมีอาการหน่วง ๆ ผิดปกติ โดยเฉพาะตอนเลี้ยวและตอนออกตัว อาจแปลได้ว่ามียางบางเส้นที่รั่ว มีลมอ่อนกว่าล้ออื่น ๆ ที่เหลือ

การรับมือรถยนต์ยางรั่ว

  1. หยุดรถในจุดที่ปลอดภัย : เลือกจุดจอดที่ราบเรียบ ข้างทาง หรือไหล่ทางที่ไม่มีรถสัญจรผ่าน และทำการเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนรถคันอื่น ๆ
  2. ตรวจสอบตำแหน่งที่รั่ว : เดินรอบรถเพื่อตรวจสอบยางทุกเส้น หาตำแหน่งที่รั่ว
  3. กรณีทราบวิธีเปลี่ยนยางอะไหล่ ให้นำยางอะไหล่มาเปลี่ยน
  4. กรณีไม่ทราบวิธีเปลี่ยนยางอะไหล่ หรือไม่มีชุดปะยางฉุกเฉิน ให้โทรขอความช่วยเหลือจากรถยก หรือบริการช่วยเหลือฉุกเฉินตามที่ติดต่อไว้กับบริษัทประกันภัย
  5. นำรถเข้าอู่ซ่อม : หลังจากแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแล้ว ควรนำรถเข้าตรวจเช็กที่อู่ซ่อม เพื่อตรวจสอบและซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย

รถยางรั่ว รถยางแบน ขับต่อได้ไหม อันตรายหรือเปล่า ?

การขับรถยนต์ที่มียางรั่วหรือแบน เป็นสิ่งที่อันตรายและไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะรถอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยางไม่มีลมจะทำให้การยึดเกาะถนนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้การควบคุมรถทำได้ยากขึ้น อาจเกิดอาการส่าย หรือเสียหลักได้ง่าย โดยเฉพาะในขณะเข้าโค้งหรือเบรก ซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ

แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์จำเป็น ผู้ขับขี่รู้ว่าข้างหน้าจะเจอศูนย์บริการร้านยาง เพื่อที่จะทำการซ่อมและปะยางได้ ก็สามารถขับขี่ได้เป็นระยะทางสั้น ๆ ด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. และค่อย ๆ ขับรถด้วยความระมัดระวัง วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและลดความเสียหายต่อรถยนต์ให้น้อยที่สุด

การขับรถที่มียางรั่วหรือแบน เป็นสิ่งที่อันตรายและไม่ควรทำอย่างยิ่ง ควรหยุดรถในที่ปลอดภัย และติดต่อขอความช่วยเหลือทันที เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ แนะนำให้มาเพิ่มความอุ่นใจไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุแบบไหนก็พร้อมรับมือได้ ด้วยการทำประกันรถกับ SOMPO ตามใจ ที่มีประกันรายเดือนให้เลือกทั้งในชั้น 1, 2+ และ 3 พร้อมทีมดูแลให้แบบทันใจ เข้าชาร์จทุกสถานการณ์ ไกล่เกลี่ย และจัดการเรื่องรถให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซื้อง่าย ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ SOMPO ตามใจข้อมูลอ้างอิง

  1. Slow Tire Leak Causes & What to Do. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2567 จาก https://www.lesschwab.com/

About The Author

บทความอื่นๆจากซมโปะ