ใครที่ต้องขับรถทุกวัน แต่ดันทำใบขับขี่หาย หยุดทุกความกังวลได้เลย! เพราะสมัยนี้เขาไม่ต้องไปต่อคิวให้ยุ่งยาก หรือต้องเสียเวลาลางานทั้งวันไปกับการทำใบขับขี่ใหม่ ด้วยบริการรับจองคิวทำบัตรใหม่กับกรมการขนส่งทางบก ผ่านแอปพลิเคชันที่ทำได้ง่าย ๆ ภายใน 7 ขั้นตอน!

ใบขับขี่หาย ต้องแจ้งความไหม ทำได้เลยหรือเปล่า

Q&A ก่อนไปทำใบขับขี่ใหม่ ต้องรู้อะไรก่อนบ้าง?

ก่อนจะไปดูความสำคัญของการทำใบขับขี่ใหม่และวิธีการจองคิวผ่านออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชันจากกรมการขนส่งทางบก ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานก่อนว่า “ใบขับขี่” ที่เรารู้จักกันนั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมดกี่ประเภท และในปัจจุบันถึงแม้จะสามารถจองคิวทำใหม่ได้ง่าย ๆ แต่ถ้าทำใบขับขี่หายแล้วยังต้องแจ้งความอยู๋ไหม?

ใบขับขี่มีกี่ประเภท?

ปัจจุบ้นใบขับขี่ในประเทศไทยมีทั้งหมด 11 ประเภท โดยจะแบ่งตามชนิดของยานพาหนะและการใช้งาน ดังนี้

  • ประเภท บ. ใบขับขี่สากล
  • ประเภท ท. ใบขับขี่ส่วนบุคคล
    • ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
    • ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
    • ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
    • ใบขับขี่รถบดถนน
    • ใบขับขี่รถแทรกเตอร์
    • ใบขับขี่รถเกี่ยวนวดข้าว
    • ใบขับขี่รถบรรทุกส่วนบุคคล
    • ใบขับขี่รถบรรทุกสาธารณะ
    • ใบขับขี่รถขนส่งสาธารณะ
    • ใบขับขี่รถชนิดอื่นนอกจาก (1) – (9)

ทำใบขับขี่สากลต้องใช้หนังสือเดินทาง

แน่นอนว่าใบขับขี่แต่ละประเภทจะมีเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่ที่แตกต่างกันไป เช่น ประเภท บ. ต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมาแล้วและมีสำเนาหนังสือเดินทางประกอบ จึงจะสามารถยื่นเรื่องทำใบขับขี่สากลได้ ในขณะประเภท ท. ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 22 ปีขึ้นไป เป็นต้น

สำหรับอายุการใช้งานของใบขับขี่แต่ละประเภทจะแตกต่างกันไป เช่น ประเภท บ. มีอายุ 1 ปี ประเภท ท. มีอายุ 5 ปี และผู้ที่ต้องการขับรถบนท้องถนนในประเทศไทย จะต้องได้รับใบขับขี่ที่ถูกต้องตามประเภทของยานพาหนะและการใช้งาน หากขับรถโดยไม่มีใบขับขี่หรือใช้ใบขับขี่ผิดประเภท จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีโทษทั้งจำและปรับ

ใบขับขี่หายยังต้องแจ้งความไหม?

ในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป การทำใบขับขี่หายไม่จำเป็นต้องแจ้งความเพื่อทำใหม่แล้วและสำหรับผู้ขับขี่ที่เป็นชาวไทย ใช้เพียงแค่บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่หน่วยงานราชการเป็นคนออกให้แทนได้ แต่สำหรับผู้ขับขี่ที่เป็นชาวต่างชาติก็สามารถใช้พาสปอร์ตแทนได้

อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงเงื่อนไขที่กำหนดให้ใบขับขี่ส่วนบุคคลและใบขับขี่สากลเท่านั้น แต่ในกรณีที่เป็นใบขับขี่สาธาณะ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีบันทึกถ้อยคำหรือใบแจ้งความ ก่อนติดต่อขอทำใบใหม่เหมือนเดิม

ใบขับขี่หาย ทำไมต้องรีบติดต่อทำใหม่?

ถึงแม้ว่าการทำใบขับขี่ใบใหม่จะไม่ได้มีความยุ่งยากเหมือนสมัยก่อนแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถปล่อยใจให้สบายไม่เร่งรีบไปทำ เพราะคิดว่าจะทำเมื่อไหร่ก็ได้นะ เนื่องจากใบขับขี่มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน ทั้งทางกฎหมายและการดำเนินเอกสาร และงานธุรกรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้กรมการขนส่งทางบก เขาพัฒนาแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ขึ้นมา เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการจองคิวทำใบขับขี่นั่นเอง

ใบขับขี่หาย จองคิวออนไลน์ทำบัตรใหม่ยังไง

เหตุผลที่ทำให้คนไม่ยอมไปทำใบขับขี่ใหม่

  1. เหตุผลด้านความสะดวก
    • ไม่มีเวลา บางคนอาจไม่มีเวลาว่างในช่วงที่สำนักงานขนส่งเปิดทำการ หรือไม่อยากเสียเวลาไปต่อคิวที่สำนักงานขนส่ง
    • กลัวความยุ่งยาก ขั้นตอนการทำใบขับขี่ใหม่อาจดูยุ่งยากและใช้เวลานาน ทำให้บางคนไม่อยากเสียเวลาไปดำเนินการ
    • กลัวเสียค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมในการทำใบขับขี่ใหม่อาจมีราคาสูง ทำให้บางคนไม่อยากเสียเงิน
  2. เหตุผลด้านความไม่จำเป็น
    • ไม่ได้ขับรถแล้ว บางคนอาจไม่ได้ขับรถแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องทำใบขับขี่ใหม่
    • ขับรถไม่บ่อย บางคนอาจขับรถไม่บ่อย จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องทำใบขับขี่ใหม่

3 เหตุผลที่ต้องรีบทำใบขับขี่ทันทีเมื่อหาย

  • ใบขับขี่หายจำเป็นต้องรีบทำใหม่โดยเร็วที่สุด เนื่องจากใบขับขี่เป็นเอกสารสำคัญในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน
  • หากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ ไม่พบใบขับขี่ จะถูกปรับตามกฎหมาย 1,000 บาท หรือจำคุก 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หากไม่มีใบขับขี่ อาจทำให้เสียโอกาสในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การขอสินเชื่อรถยนต์ การต่อประกันรถยนต์ เป็นต้น

เอกสารทำใบขับขี่ใหม่

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ค่าธรรมเนียม 205 บาท

ขั้นตอนการจองคิวทำใบขับขี่ออนไลน์ ง่ายนิดเดียว

หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าทำไมต้องรีบติดต่อทำใหม่เมื่อใบขับขี่หาย แต่ยังไม่รู้ว่าจะสามารถจองคิวล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน DLT Smart Queueได้อย่างไร ด้านล่างนี้เรามีวิธีการจองคิวมาฝาก

  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue
  • ลงทะเบียนเพื่อใช้งาน
  • เลือกสำนักงานขนส่งที่ต้องการ
  • เลือกประเภทบริการ “ใบอนุญาต”
  • เลือกประเภทใบอนุญาตขับรถ และเลือกบริการอื่น ๆ
  • เลือกประเภทยานพาหนะ หลังจากนั้นให้ติ๊กว่า บัตรสูญหาย
  • เลือก “ใบอนุญาตส่วนบุคคล: ใบแทนชำรุดหรือสูญหาย”
  • เลือกวันที่ต้องการทำใบขับขี่ นัดหมายสำเร็จ

เมื่อจองคิวล่วงหน้าสำหรับทำใบขับขี่ใหม่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเดินทางไปยังสำนักงานขนส่งที่สะดวกหรืออยู่ใกล้ในวันเวลาที่มัดหมาย เพื่อทำการกรอกข้อมูลและยื่นคำขอให้สำเร็จ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หากข้อมูลถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะทำการออกใบแทนใบอนุญาตขับขี่ใบใหม่ เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว!

หลังจากได้ใบขับขี่ใหม่ไปแล้ว อย่าลืม! เลือกซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์แบบใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การขับขี่กับ SOMPO ตามใจ ประกันรถยนต์แบบ Subscription เจ้าแรกของไทย ที่มีให้เลือกทั้งแบบรายวันและรายเดือน เช็กเบี้ยประกันได้เลย!

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ SOMPO ตามใจข้อมูลอ้างอิง

  1. ข่าวดี! ขยายเวลา ‘ต่ออายุใบขับขี่ล่วงหน้า’ เป็น 6 เดือน ดีเดย์ 1 เม.ย. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.thebangkokinsight.com/news/business/economics/586061/
  2. ต่อใบขับขี่ 2566 ทำได้ทั้งจองคิว และ Walk in ค่าใช้จ่ายเท่าไร เช็กที่นี่. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/187898

บทความอื่นๆจากซมโปะ