ผู้ใช้รถใช้ถนน ต้องห้ามเลื่อนผ่าน ! เพราะบทความในวันนี้เราจะมานำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “ค่าทำขวัญ” ค่าใช้จ่ายที่อาจพบได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิด เช่น การไปชนรถคนอื่น หรือคู่กรณีมาชนรถของเรา ซึ่งค่าทำขวัญก็จะเริ่มมีบทบาทขึ้นมาทันที !
SOMPO ตามใจ ขอพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับค่าทำขวัญ ตอบชัดคืออะไร บังคับให้ต้องจ่ายไหม แล้วในกรณีนี้ประกันรถยนต์จะคุ้มครองให้หรือเปล่า มาหาคำตอบได้ที่นี่เลย
รู้จัก “ค่าทำขวัญ”
ค่าทำขวัญที่คุ้นหู หรือก็คือค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายถึงเงินค่าขาดผลประโยชน์ต่อการใช้รถ นับเป็นค่าชดเชยที่จะจ่ายให้แก่ผู้เสียหายจากอุบัติเหตุ โดยมีจุดประสงค์ให้เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายทางจิตใจและโอกาสใช้รถที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ความตกใจ หวาดกลัว หรือเสียขวัญ อย่างไรก็ดี “กฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องบังคับจ่าย” แต่จะเป็นเรื่องของข้อตกลงมากกว่า ว่าเจ้าทุกข์จะมีการเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีหรือไม่
ประกันครอบคลุมการจ่าย “ค่าทำขวัญ” หรือไม่ ?
สำหรับคำตอบข้อนี้ ขอตอบว่าบริษัทประกันมีการครอบคลุมค่าใช้จ่ายให้อย่างแน่นอน โดยสามารถตรวจสอบได้ในกรมธรรม์ ซึ่งจะใช้คำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” แทนค่าทำขวัญ ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายให้ตามจริง รวมตั้งแต่ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายทางทรัพย์สิน ค่าขาดผลประโยชน์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามกรมธรรม์ที่สามารถพิสูจน์ได้จริง
รู้สึกผิดและอยากชดใช้ค่าทำขวัญ สามารถจ่ายเลยได้ไหม ?
สามารถจ่ายได้เลย แต่จะจ่ายให้ในรูปแบบของค่าเสียหายตามกรมธรรม์ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายานพาหนะเสียหาย ด้วยการส่งไม้ต่อให้เจ้าหน้าที่ประกันไกล่เกลี่ยได้ทันที เว้นแต่ว่าไม่มีประกันภัยรถยนต์ / ประกันขาด ในส่วนนี้จะต้องไปทำการไกล่เกลี่ยต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือขึ้นโรงขึ้นศาลแทน เพื่อชดเชยค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนกันในลำดับถัดไป
กรณีไหนบ้างที่สามารถเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีได้ ?
สลับบทบาทกันบ้าง ในกรณีที่คุณเป็นผู้เสียหายอยากเรียกค่าสินไหมจากอีกฝ่าย คุณสามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ภายใต้ 4 เงื่อนไข ดังนี้
- คุณเป็นผู้โดนรถชน อยู่ในฐานะ “ผู้เสียหาย” จึงจะสามารถเรียกค่าทำขวัญได้เท่าที่สมควร
- สามารถเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีได้ ก็ต่อเมื่อยานพาหนะของอีกฝ่ายเป็นยานพาหนะทางบก อย่างรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถบรรทุก
- รถที่คุณขับต้องมีการทำประกันรถไว้อย่างถูกต้อง เพราะไม่ว่าจะเป็นประกันชั้นไหนก็คุ้มครองการเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีด้วยกันทั้งนั้น
- คุณ “ต้อง” มีใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะอย่างถูกต้อง จึงจะสามารถเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีได้
อัตราขั้นต่ำของการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี
หากคุณต้องการเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณี แต่ไม่รู้เลยว่าการที่โดนรถชนครั้งหนึ่ง ควรจะเรียกค่าทำขวัญอยู่ที่เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไปจนตัวเองเสียผลประโยชน์ เรามีเกณฑ์อัตราขั้นต่ำของการเรียกค่าทำขวัญมาฝาก โดยจะขึ้นอยู่กับประเภทของยานพาหนะ ดังนี้
- รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง รวมคนขับ เคลมได้อย่างน้อย 500 บาท / จำนวนวันที่รถซ่อม
- รถยนต์รับจ้างสาธารณะ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง รวมคนขับ เคลมได้อย่างน้อย 700 บาท / จำนวนวันที่รถซ่อม
- รถขนาดมากกว่า 7 ที่นั่ง เคลมได้อย่างน้อยวันละ 1,000 บาท / จำนวนวันที่รถซ่อม
- รถประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ข้อ 1-3 เช่น รถจักรยานยนต์ ให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องและข้อตกลงกันได้ โดยพิจารณาหลักฐานเป็นกรณี
แต่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกชนหรือฝ่ายชน ก็สามารถอุ่นใจเกี่ยวกับการจัดการค่าสินไหมทดแทนได้ง่าย ๆ ด้วยการสมัครแผนประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กับ SOMPO ตามใจ ประกันรถยนต์ที่สามารถเลือกปรับแต่งได้ ในราคาเริ่มต้นเพียง 850 บาทต่อเดือน แถมยังสามารถปรับความคุ้มครองได้อย่างใจ พร้อมรับส่วนลดไปเลย 10% เมื่อใช้ต่อเนื่องครบทุก ๆ 6 เดือน การันตีการบริการด้วยทีมมืออาชีพที่พร้อมเข้าชาร์จทุกสถานการณ์ ไกล่เกลี่ย และจัดการเรื่องรถให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง รองรับทุกความต้องการของคนใช้รถใช้ถนนอย่างแน่นอน หากสนใจสามารถติดต่อสอบถาม หรือเลือกซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง
- สอนวิธีเรียก ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เมื่อถูกชนและเราเป็นฝ่ายถูก!. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 จาก https://www.cartrack.co.th/
About The Author
บทความอื่นๆจากซมโปะ