หนึ่งในสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน นอกจากจะเป็นที่ตัวบุคคลผู้ขับขี่แล้ว สาเหตุจากทางและเครื่องหมายสัญญาณเองก็มีผลไม่แพ้กัน เพราะสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิด “จุดอับ” หรือ “จุดบอด” ที่บดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ จนนำไปสู่อุบัติเหตุที่ร้ายแรงได้ในที่สุด เราจึงได้รวบรวม 10 จุดเสี่ยงมาฝากผู้ขับขี่ ลองไปดูกันดีกว่าว่ามุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง?

มุมอับคืออะไร มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง

“จุดอับ” หรือ “จุดบอด” ที่บดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ คืออะไร?

“จุดอับ” หรือ “จุดบอด” ที่บดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ คือ บริเวณที่กระจกมองข้างและกระจกมองหลัง ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งเกิดจากหลากหลายปัจจัย เช่น เสาของรถ โครงสร้างของตัวรถ หรือแม้กระทั่งสิ่งของที่วางเอาไว้ภายในรถ รวมไปถึงจุดเสี่ยงจากสิ่งกีดขวางภายนอกต่าง ๆ อย่างกำแพง ทางคดเคี้ยว และสภาพถนนอีกด้วย

10 จุดเสี่ยง มุมอับอันตรายที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่

ผู้ขับขี่มือใหม่หลาย ๆ คนอาจไม่รู้ว่ามุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง จนอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เนื่องจากไม่ทันได้ระมัดระวังเท่าที่ควร เราจึงได้ทำการรวบรวม 10 จุดเสี่ยงอันตรายที่ต้องระวังเป็นพิเศษมาฝาก

  1. ริมไหล่ทาง จุดอับที่ผู้ขับขี่หลายคนมองข้าม ด้วยลักษณะเป็นทางแคบ หรือเป็นคอขวดในบางแห่งเนี่ยแหละ ที่ทำให้เกิดโอกาสรถชน จนนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงได้
  2. อันตรายจากสี่แยก สี่แยกเป็นจุดที่มีรถวิ่งสวนทางกันหลายทิศทาง ผู้ขับขี่ควรดูสัญญาณไฟอย่างระมัดระวัง พร้อมชะลอความเร็วเมื่อเห็นไฟเหลือง และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญหยุดรถหลังเส้นที่กำหนดเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริเวณทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร
  3. ทางโค้งและโค้งหักศอกในชุมชน ทางโค้งและโค้งหักศอกเป็นจุดที่ทัศนวิสัยไม่ดีตามหลักกายภาพ ผู้ขับขี่จึงควรลดความเร็วและเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรหยุดรถกะทันหันหรือเร่งแซง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเฉี่ยวหรือชนกับรถ รวมไปถึงสิ่งกีดขวางอื่น ๆทางโค้ง มุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง
  4. มุมอันตรายจุดกลับรถ เป็นอีกจุดที่เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อย ๆ เพราะผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างการหยุดรอในจุดที่กำหนด รวมไปถึงความชะล่าใจในการใช้ถนนร่วมกับผู้ขับขี่คนอื่น ๆ จนอาจทำให้เกิดการพุ่งชนได้นั่นเอง
  5. จุดตัดทางรถไฟ อันตรายที่มักเกิดกับผู้ขับขี่ที่มีความใจร้อน เร่งแซงเพื่อฝ่าสัญญาณเตือน ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ ดังนั้น เมื่อเห็นสัญญาณเตือน สิ่งที่ควรทำคือการชะลอและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่ต่ำกว่า 5 เมตร เพื่อความปลอดภัย
  6. แยกวัดใจที่สัญญาณจราจรเสียหรือไม่มี เป็นอีกหนี่งมุมอันตรายที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เนื่องจากไม่มีสัญญาณไฟคอยให้สังเกต สิ่งที่ควรทำเพื่อความปลอดภัย จึงเป็นการชะลอความเร็ว และสังเกตถนนให้มั่นใจว่าจะไม่มีรถคันอื่น ๆ เพื่อให้สามารถขับผ่านไปได้อย่างมั่นใจ และเหนือสิ่งอื่นใด คือการปฏิบัติตามกฎจราจรที่กำหนด นั่นคือรถด้านซ้ายผ่านไปก่อนนั่นเอง
  7. มุมอันตรายจากทางขึ้น-ลงเขา เป็นจุดที่การใช้ความเร็วค่อนข้างสูงในการขับ ทั้งยังมีความท้าทายจากสภาพถนนที่อาจทรุดได้ทุกเมื่อ ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรเพิ่มความระมัดระวังและชะลอความเร็วอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฝนตกหรือหมอกลง
  8. มุมอันตรายจากถนนที่มีกำแพง ถนนที่มีกำแพงเป็นจุดที่ทัศนวิสัยไม่ดี ผู้ขับขี่ควรเพิ่มความระมัดระวังและลดความเร็ว โดยเฉพาะบริเวณทางโค้ง ทางแคบ หรือตามตรอกซอกซอยต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย จึงควรชะลอความเร็ว และบีบแตรให้สัญญาณเสมอ หากเป็นช่วงเวลากลางคืนก็ให้ใช้ไฟกะพริบสูง เพื่อเป็นสัญญาณให้รถคันอื่นสังเกตได้อย่างชัดเจน
  9. มุมอับกระจกข้าง กระจกข้างไม่สามารถมองเห็นรถหรือสิ่งกีดขวางที่อยู่บริเวณด้านข้างรถได้อย่างครอบคลุม ทำให้เวลาเปลี่ยนเลนอาจจะมีรถยนต์อยู่ในตำแหน่งจุดบอด ส่งผลให้ผู้ขับเปลี่ยนเลนทั้ง ๆ ที่มีรถอยู่ ซึ่งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยการแก้ไขสามารถทำได้ง่าย ๆ คือการขับขี่ในท่าที่กำหนด และใช้กระจกมองข้างและมองหลังร่วมกัน เพื่อตรวจสอบจุดบอดให้มั่นใจก่อนเปลี่ยนเลนมุมอับกระจกข้าง
  10. มุมอับกระจกมองหลัง กระจกมองหลังจะมีมุมอับที่ไม่สามารถมองเห็นรถหรือสิ่งกีดขวางที่อยู่บริเวณด้านหลังรถได้ทั้งหมด อาจเกิดจากการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือติดนิสัยวางสิ่งของบังทัศนวิสัย ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรเปลี่ยนตำแหน่งการเก็บของ รวมถึงฝึกใช้กระจกข้างและหลังร่วมกันให้คล่อง ก่อนขับออกถนนใหญ่

มุมอับกระจกมองหลัง กระจกมองหลังจะมีมุมอับที่ไม่สามารถมองเห็นรถหรือสิ่งกีดขวางที่อยู่บริเวณด้านหลังรถได้ทั้งหมด อาจเกิดจากการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือติดนิสัยวางสิ่งของบังทัศนวิสัย ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรเปลี่ยนตำแหน่งการเก็บของ รวมถึงฝึกใช้กระจกข้างและหลังร่วมกันให้คล่อง ก่อนขับออกถนนใหญ่

วิธีป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากจุดอับ

หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่ามุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง เชื่อได้เลยว่าการระมัดระวังจากผู้ขับขี่อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จึงต้องพึ่งพาวิธีป้องกันที่รัดกุม เพื่อให้สามารถรับมือได้มากขึ้น ว่าจะสามารถป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนจากจุดอับได้อย่างมั่นใจ

  • หมั่นตรวจสอบจุดอับของรถก่อนเปลี่ยนเลนหรือถอยรถ โดยหันศีรษะมองข้ามไหล่ หรือเปิดไฟเลี้ยวและมองกระจกมองข้างและกระจกมองหลังอย่างละเอียด
  • อย่าวางสิ่งของที่บดบังทัศนวิสัยบริเวณจุดอับ เช่น ผู้โดยสาร สิ่งของที่วางบนเบาะหลัง หรือสิ่งของที่วางไว้บนคอนโซลกลาง
  • ใช้กระจกมองข้างแบบปรับมุมมองได้ เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นบริเวณจุดอับ
  • ใช้ระบบเตือนจุดอับ (Blind Spot Monitoring System) ระบบนี้จะช่วยตรวจจับรถหรือสิ่งกีดขวางที่อยู่บริเวณจุดอับ และแจ้งเตือนผู้ขับขี่ด้วยสัญญาณไฟหรือเสียง

อัปเดตกันไปแล้วว่ามุมอันตรายเกิดขึ้นในทางใดได้บ้าง แต่ก็ใช่ว่าจะอุ่นใจได้ 100% เพราะอุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องที่จะคาดการณ์และหลีกเลี่ยงได้เสมอไป ดังนั้น อย่าลืมเลือกประกันรถยนต์ที่จริงใจ พร้อมครอบคลุมได้ทุกเหตุจำเป็นอย่างประกันภัยชั้น 2+ ราคาประหยัด เลือกได้เลยที่ SOMPO ตามใจ ประกันรถยนต์แบบ Subscription เจ้าแรกของไทย มีทั้งแบบรายวันและรายเดือน

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ SOMPO ตามใจ

บทความอื่นๆจากซมโปะ