จริงอยู่ที่การแต่งรถเป็นรสนิยมอย่างหนึ่งของนักขับ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแม็กซ์ สปอยเลอร์ หรือติดฟิล์มกรองแสง อย่างไรก็ตาม การแต่งรถที่เกินพอดีก็สามารถสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ขับขี่เองและผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีกฎหมายการแต่งรถมาควบคุม เพื่อให้การขับขี่บนท้องถนนเป็นไปอย่างปลอดภัย ดังนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบแต่งรถ แต่ไม่อยากทำผิดกฎหมาย ต้องอ่านบทความนี้ เพราะเรารวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายการแต่งรถมาย่อยให้อ่านได้ง่าย ๆ ในที่เดียว ติดตามได้เลย

รถที่ทำผิดกฎหมายแต่งรถ

ข้อบังคับเกี่ยวกับการแต่งรถอยู่ในกฎหมายอะไร ?

ข้อบังคับเกี่ยวกับการแต่งรถในประเทศไทยนั้น ถูกควบคุมโดยกฎหมายการแต่งรถหลัก ๆ 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น

พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานและความปลอดภัยของรถ โดยระบุว่าการดัดแปลงสภาพรถจะต้องไม่ขัดต่อข้อกำหนดที่บัญญัติเอาไว้ เช่น การเปลี่ยนสีรถ การติดตั้งอุปกรณ์เสริม หรือการปรับแต่งเครื่องยนต์ ซึ่งหากฝ่าฝืนอาจมีโทษปรับหรือจำคุก

ส่วน พ.ร.บ.จราจรทางบก ทั้งฉบับ พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2548 จะเน้นเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่เป็นหลัก โดยมีข้อห้ามเกี่ยวกับการดัดแปลงรถที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัย เช่น ห้ามใช้แสงไฟหรือเสียงที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ

ข้อกำหนดในกฎหมายการแต่งรถที่นักขับต้องจำให้ขึ้นใจ

ทั้งพระราชบัญญัติรถยนต์และพระราชบัญญัติจราจรทางบก ต่างก็มีข้อกฎหมายหลายมาตรา ดังนั้น การที่จะให้เหล่านักขับจดจำให้ได้ทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ และมาตราส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแต่งรถ ด้วยเหตุนี้ เราจึงคัดเลือกข้อกฎหมายแต่งรถซิ่งเฉพาะเรื่องสำคัญ ๆ มาให้อ่านแบบย่อยง่าย ดังต่อไปนี้

การเปลี่ยนสีรถ การ Wrap สีรถ

ตามกฎหมายแต่งรถซิ่ง รถยนต์ที่จดทะเบียนแล้วหากมีการเปลี่ยนสีให้แตกต่างจากข้อมูลที่ระบุไว้ในทะเบียน จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน แต่ข้อบังคับนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนสีตัวถังรถเกินกว่า 30% ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น หากเปลี่ยนสีน้อยกว่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้ง

การแจ้งเปลี่ยนสีรถสามารถทำได้โดยการไปติดต่อที่สำนักงานขนส่งในพื้นที่ และยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาทะเบียนรถ สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่ายรถที่เปลี่ยนสีแล้ว เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นก็จะได้รับเอกสารรับรองการเปลี่ยนแปลงสีรถ ซึ่งควรเก็บไว้เป็นหลักฐานในการใช้รถต่อไป

การต่อเติมป้ายทะเบียน

การต่อเติมหรือดัดแปลงป้ายทะเบียนรถยนต์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายการแต่งรถ เนื่องจากป้ายทะเบียนถือเป็นเอกสารราชการที่ใช้ระบุข้อมูลสำคัญของรถ การเปลี่ยนแปลงตัวอักษร ตัวเลข หรือเพิ่มเติมสิ่งอื่นใดลงไปบนป้ายทะเบียน อาจทำให้เกิดความสับสนต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ ป้ายทะเบียนที่ถูกดัดแปลงยังอาจนำไปสู่ปัญหาการปลอมแปลงเอกสารหรือการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบได้

ท่อไอเสียรถยนต์

การดัดแปลงท่อไอเสียรถยนต์ให้มีเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายการแต่งรถกำหนด ถือเป็นความผิด โดยท่อไอเสียรถต้องมีเสียงไม่เกิน 95 เดซิเบล หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุดถึง 1,000 บาท ดังนั้น เพื่อไม่ให้ละเมิดกฎหมาย และสร้างมลพิษทางเสียง ผู้ขับขี่จึงควรหลีกเลี่ยงการทำท่อไอเสียรถให้มีเสียงดังเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด รวมถึงควรตรวจสอบสภาพท่อไอเสียอยู่เสมอ

โหลดเตี้ยเกินกว่าที่กฎหมายแต่งรถซิ่งกำหนด

การติดสติกเกอร์

ในเรื่องของการติดสติกเกอร์ กฎหมายระบุว่าสีส่วนอื่น ๆ ของตัวรถที่เปลี่ยนแปลงไปจากสีเดิมที่จดทะเบียน จะต้องไม่เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด มิเช่นนั้นอาจถือว่าเป็นการเปลี่ยนสีรถและต้องแจ้งเปลี่ยนข้อมูลทะเบียน

การรถยกสูง หรือโหลดเตี้ย

ส่วนการยกสูงหรือโหลดเตี้ยรถนั้นสามารถทำได้แต่มีข้อจำกัด กล่าวคือ การยกสูงจะต้องไม่เกิน 135 ซม. และการโหลดเตี้ยจะต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. เมื่อวัดจากพื้นถนน หากต่ำหรือสูงกว่านี้อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย

ข้อกำหนดเกี่ยวกับไฟรถ

กฎหมายยังกำหนดเรื่องสีของไฟหน้ารถด้วย โดยอนุญาตให้ใช้ได้เพียง 2 สี คือ สีเหลืองอ่อนและสีขาวเท่านั้น หากใช้ไฟสีอื่นถือว่าผิดกฎหมายการแต่งรถเช่นกัน

ขับขี่อุ่นใจเมื่อมีประกันรถยนต์ SOMPO เป็นเพื่อนร่วมทาง

นอกจากการดูแลรักษารถยนต์และปฏิบัติตามข้อกฎหมายการแต่งรถอย่างเคร่งครัดแล้ว นักขับสามารถเพิ่มความมั่นใจให้ทุกการขับขี่ด้วยประกันรถยนต์ SOMPO ตามใจ ประกันรถยนต์ที่สามารถเลือกปรับแต่งได้ตามใจ ทั้งวงเงินคุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง และรูปแบบการจ่ายเบี้ยประกัน พร้อมดูแลรักษารถยนต์คุณอย่างเต็มที่ด้วยศูนย์รับแจ้งเหตุที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รองรับทุกความต้องการของคนใช้รถใช้ถนน สนใจสามารถติดต่อสอบถาม หรือเลือกซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ SOMPO ตามใจ

ข้อมูลอ้างอิง

  1. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ รถย. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 จาก https://legal.dlt.go.th/
  2. พระราชบัญญัติ จราจรทางบก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 จาก https://legal.dlt.go.th/

About The Author

บทความอื่นๆจากซมโปะ