รถยนต์มีปัญหาเบรก ABS คืออะไร

อุบัติเหตุรถยนต์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การดูแลรถยนต์และตัวเองอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย แต่สำหรับบางคนการดูแลรถยนต์อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ซึ่งในบางครั้งเราอาจเริ่มสังเกตได้ง่าย ๆ จากสัญลักษณ์ไฟบนหน้าปัด ที่ช่วยบอกว่ารถของเรานั้นมีปัญหาอะไร ซึ่งอาจมีตั้งแต่ไฟสัญญาณเข็มขัดนิรภัย สัญญาณโชว์ถังน้ำมันว่าน้ำมันใกล้หมดแล้ว แบตเตอรี่มีปัญหา แบตเตอรี่ใกล้หมด หรือสัญญาณ ABS ขัดข้อง ที่ส่งผลต่อการขับขี่เป็นอย่างมาก วันนี้เราจึงจะพามารู้จักกับระบบเบรก ABS ให้มากขึ้นว่าคืออะไร หากมีสัญญาณเตือนขึ้นมาแล้วควรทำอย่างไรดี

ทำความรู้จัก เบรก ABS คืออะไร

เบรก ABS หรือ Anti-Lock Brake System คือระบบที่ป้องกันล้อล็อกขณะเบรกกะทันหัน โดยมิให้ล้อเสียการยึดเกาะกับพื้นถนน ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมทิศทางของรถได้ในขณะเบรก โดยไม่สูญเสียการควบคุมรถไป ด้วยความสำคัญ ดังนี้

  • ช่วยลดระยะเบรก เบรก ABS จะช่วยให้ล้อรถไม่ล็อก ทำให้สามารถเบรกได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดระยะเบรกลงได้ประมาณ 10-40%
  • เพิ่มการยึดเกาะถนน ล้อรถที่ล็อกขณะเบรกจะสูญเสียการยึดเกาะถนน ทำให้รถเสียการควบคุมได้ เบรก ABS จะช่วยให้ล้อรถยังคงหมุนอยู่ ทำให้รถยังคงยึดเกาะถนนได้ดี
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เบรก ABS ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการเบรกกะทันหัน เช่น การลื่นไถล การพลิกคว่ำ การชนท้าย เป็นต้น
  • ช่วยยืดอายุการใช้งาน ทั้งของดอกยาง ไม่ให้ยางล้อสึกไว รวมถึงช่วยลดภาระการทำงานของระบบเบรก ทำให้ระบบเบรกมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

สัญญาณระบบเบรก ABS ขึ้นหน้าปัด

หากไฟระบบเบรก ABS ขึ้นหน้าปัด ต้องทำอย่างไร

รีเซตระบบไฟ

หากไฟ ABS ขึ้นหน้าปัดเพียงชั่วคราว อาจเกิดจากปัญหาทางไฟฟ้า เช่น เซนเซอร์ ABS ขัดข้อง หรือสายไฟขาด ซึ่งสามารถลองแก้ได้โดยการรีเซตระบบไฟด้วยการดับเครื่องยนต์ ถอดขั้วแบตเตอรี่ ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วใส่ขั้วแบตเตอรี่กลับเข้าไปใหม่ หลังจากนั้นให้ลองเร่งเครื่องรถไปบนถนนแล้วเหยียบเบรกให้สุดเพื่อเป็นการรีเซตใหม่ ซึ่งหากไฟ ABS ดับลง แสดงว่าเกิดจากปัญหาทางไฟฟ้า โดยหลังจากรีเซตแล้วจะสามารถใช้งานได้ตามปกติ

ทดลองขับเพื่อทดสอบเบรก

หากลองรีเซตระบบไฟแล้ว ไฟ ABS ยังขึ้นอยู่ แสดงว่าปัญหาอาจเกิดจากระบบเบรก ABS แต่หากยังไม่แน่ใจ ก็สามารถทดลองขับเพื่อทดสอบเบรกด้วยตัวเองได้ โดยการมองหาพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีรถคันอื่น เพื่อขับรถบนทางราบตามปกติ แล้วลองเหยียบเบรกอย่างแรงโดยไม่ยกเท้าออก พร้อมหักพวงมาลัย ถ้ารถยนต์ไม่สะบัดแรงและยังสามารถหักพวงมาลัยบังคับทิศทางได้ แสดงว่าระบบ ABS ยังปกติ

ตรวจสอบน้ำมันเบรก

ตรวจสอบให้ดีกว่าปัญหาเกิดขึ้นจากน้ำมันเบรกหรือไม่ เพราะอาจเกิดจากรอยแตกที่ทำให้ระดับน้ำมันเบรกต่ำ ซึ่งจะทำให้น้ำมันเบรกรั่วไหลออกไป หรือน้ำมันเบรกสกปรก จนไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอาจส่งผลอันตรายให้ไม่สามารถชะลอความเร็วรถยนต์ได้ ซึ่งหากตรวจสอบว่าน้ำมันเบรกอยู่ในระดับต่ำกว่าขีด MIN ควรเติมน้ำมันเบรกให้อยู่ในระดับ MAX หรือหากอยู่ในระดับปกติแต่น้ำมันสกปรก ก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกใหม่ทันที

ตรวจสอบน้ำมันเบรก

ตรวจสอบลมยาง

ลมยางเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัญลักษณ์ไฟของระบบเบรก ABS แสดงบนหน้าปัด ซึ่งสามารถลองตรวจเช็กลมยางเองได้ว่ามีความแข็ง หรืออ่อนเกินไปหรือไม่ เพราะลมยางที่ไม่เหมาะสมกับตัวรถก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการยึดเกาะกับท้องถนนจนเกิดปัญหากับระบบเบรกได้ โดยทั่วไปแล้ว ระดับลมยางสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลควรอยู่ที่ 32 psi ซึ่งนอกจากการตรวจสอบระดับลมยางแล้ว ยังสามารถตรวจสอบสภาพของยางได้ไปพร้อมกันทีเดียว โดยสังเกตจากดอกยาง หากดอกยางสึกหรอจนเหลือน้อยกว่า 2/3 ของร่องดอกยาง ควรเปลี่ยนยางใหม่ ซึ่งยางที่ดีควรมีดอกยางที่ลึกและสม่ำเสมอ

ตรวจสอบความสะอาด

ความสกปรกสามารถทำให้ไฟระบบเบรก ABS ปรากฏขึ้นมาบนหน้าปัดได้ จึงควรหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ ซึ่งหากพบคราบสกปรก หรือคราบสนิม ควรทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดเบรก รวมถึงในระหว่างตรวจสอบ หากพบว่าจานเบรก ABS มีการสึกหรอหรือเสียหาย ก็ควรเปลี่ยนจานเบรก ABS ใหม่ด้วยเช่นกัน

หากลองทำทุกวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล ให้รีบนำรถยนต์เข้าศูนย์ เพื่อทำการตรวจเช็กและหาทางแก้ไขทันที ซึ่งแม้ในปัจจุบันระบบเบรก ABS จะกลายเป็นมาตรฐานความปลอดภัยทั้งสำหรับรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ไปแล้ว แต่รถที่มีอายุต่ำกว่าปี 2008 ลงไป อาจจะยังไม่มีระบบเบรก ABS ทำให้ต้องมาติดตั้งใหม่ทีหลังเพื่อเสริมความปลอดภัยบนท้องถนน

คงไม่ดีแน่หากรถยนต์มีปัญหาระบบเบรก ABS จนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุระหว่างทาง หากต้องการเสริมความมั่นใจในการขับขี่ การเลือกทำประกันชั้น 2+ SOMPO ตามใจ ก็สามารถช่วยคุ้มครองได้ในราคาคุ้มค่า พร้อมดูแลผู้ขับขี่ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าประกันตัว อีกทั้งยังให้การคุ้มครองความเสียหายในกรณีชนแบบมีคู่กรณี ให้คุณอุ่นใจทุกครั้งที่ขับขี่

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ SOMPO ตามใจ

บทความอื่นๆจากซมโปะ